Background



อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่
31 มกราคม 2565

0


อำนาจหน้าที่
 
ภารกิจ อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลเกาะนางคำ
 
             การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเกาะนางคำนั้น  เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหาร่วมสร้างร่วมจัดทำส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน  ในพื้นที่ของเทศบาลตำบลเกาะนางคำให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน  การพัฒนาเทศบาลตำบลเกาะนางคำจะสมบูรณ์ได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ให้เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง  เทศบาลตำบลเกาะนางคำยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร  นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริม และการสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน  และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา  ส่วนด้านการพัฒนาอาชีพนั้น  จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น  และยังจัดตั้งเศรษฐกิจแบบพอเพียงโดยส่วนรวม
การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล  ตามพระราชบัญญัติเทศบาล  พ.ศ.  2496  และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ.  2542 และรวบรวมกฎหมายอื่นของเทศบาล ใช้เทคนิค  SWOT  เข้ามาช่วย ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าเทศบาลตำบลมีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร  โดยวิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส  และภัยคุกคาม  ในการดำเนินการตามภารกิจตามหลัก  SWOT  เทศบาลตำบลเกาะนางคำ กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  แผนพัฒนาจังหวัด  แผนพัฒนาอำเภอ  นโยบายของรัฐบาล  และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น  ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา  โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้ เป็น  7  ด้าน  ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496   และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ.  2542  ดังนี้
 
5.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
 
- จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ (มาตรา 67 (2) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น             พ.ศ.2542 มาตรา 50 (2) มาตรา 51 (8) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496)
- การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ (มาตรา 16 (4) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
- การสาธารณูปการ (มาตรา 16 (5) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
- การควบคุมอาคาร (มาตรา 16 (28) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
- ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา (มาตรา 51 (1) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496)
- ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา 51 (7) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496)
 
5.2 ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
 
-การจัดการศึกษา (มาตรา 16 (9) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 / มาตรา 50 (6) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496
-การส่งเสริมกีฬา (มาตรา 16 (14) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 / มาตรา 50 (6) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496)
-การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (มาตรา 16 (19) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
-ป้องกันและระงับโรคติดต่อ (มาตรา 50 (4) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496)
-ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์ รักษาคนเจ็บไข้ (มาตรา 51 (6) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496)
-ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (มาตรา 50 (7) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496)
-การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (มาตรา 16 (10) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
-การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (มาตรา 16 (13) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
 
5.3  ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (มาตรา 50 (1) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 / มาตรา 16 (30) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
- การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ (มาตรา 16 (23) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา 16 (29) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
- ให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ในการดังเพลิง (มาตรา 50 (5) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496)
 
5.4  ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
 
- บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร (มาตรา 51 (5) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496)
- การจัดให้มีและควบคุมตลาด (มาตรา 50 (3) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496)/ มาตรา 16 (3) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
- การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ (มาตรา 16 (6) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
- การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 16 (7) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 / มาตรา 51 (9) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496)
- การส่งเสริมการท่องเที่ยว (มาตรา 16 (8) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
 
ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- การจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา 16 (24) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
- รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินเท้า และที่สาธารณะ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง รวมทั้ง การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย (มาตรา 50 (3) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 / มาตรา 16 (17) (18) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
- การดูแลรักษาที่สาธารณะ (มาตรา 16 (27) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
- การควบคุมสุสานและฌาปนสถาน (มาตรา 16 (20) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
 
ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา 50 (8) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 / มาตรา 16 (11) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
- ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (มาตรา 67(5))
- การจัดการศึกษา (มาตรา 16(9)
- การส่งเสริมกีฬา มาตรา  16(14)  
- การบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น มาตรา 16(11)
 
5.7  ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ และองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (มาตรา 16 (1) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
- การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา 16 (15) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา 16 (16) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
 
         ภารกิจทั้ง  7 ด้านตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจเทศบาล สามารถจะแก้ไขปัญหาของ เทศบาลตำบลเกาะนางคำได้เป็นอย่างดี   มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ประกอบด้วยการดำเนินการของเทศบาลตำบล  จะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารของเทศบาลตำบลเป็นสำคัญ และสามารถนำเทคนิค SWOT เข้ามาช่วยเพื่อให้ทราบว่าจะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ตามหลัก SWOT (SWOT Analysis) ดังนี้
 
1 จุดแข็ง (S : Strength)
- มีพื้นที่เหมาะสมด้านการเกษตร
- มีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ
- อยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้
- มีการดำรงประเพณีวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมที่ดี
- การคมนาคมสะดวกในการขนส่งผลิตภัณฑ์การเกษตร
- ประชาชน ผู้นำชุมชน มีความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับทางราชการในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
- ชุมชนเข้มแข็งได้รับการบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานครบถ้วน
- ประชาชนยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
- ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา  ปาล์มน้ำมัน  ถั่วฝักยาว  แตงกวา  อาชีพรองคือการประมงพื้นบ้าน  ได้แก่  การเลี้ยงกุ้งขาว  กุ้งกุลาดำ  ปลากะพง  ปลาทับทิม  ในกระชัง 
- มีการประสานความร่วมมือระหว่างเทศบาลกับส่วนราชการในพื้นที่
- มีความสงบไม่ค่อยจะมีปัญหาด้านความปลอดภัยและด้านมลพิษ
- ผู้นำชุมชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาท้องถิ่น
- มีระบบประปาเพิ่มขึ้นทำให้มีน้ำใช้อุปโภคบริโภคตลอดทั้งปี
- มีศักยภาพเพียงพอที่รองรับการบริการสาธารณะและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
- เทศบาลและหมู่บ้านในเขตเทศบาลมีหอกระจายข่าวประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในตำบลได้รับทราบข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง
- มีกองทุนในหมู่บ้าน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ และกลุ่มสัจจะ
 
2 จุดอ่อน (W : Weakness)
- ประชาชนขาดความรู้ความสามารถในการผลิตและการบริหารจัดการ
- ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ
- ขาดสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ
- ขาดการจัดการด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ขาดการร่วมมือในการทำกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มอาชีพ
- ความทันสมัยของเทคโนโลยีทางการผลิตน้อย
- ประชาชนไม่กล้าแสดงความคิดเห็นต่อที่สาธารณะ
- คนในวัยทำงาน คนหนุ่มสาว มักไปหางานทำในเมือง
- ประชาชนประกอบอาชีพทางการเกษตรเพียงอย่างเดียวทำให้มีรายได้น้อย
- ประชาชนไม่สามารถรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินการด้านเศรษฐกิจของชุมชนในรูปของกลุ่มอาชีพอย่างเข้มแข็ง
- ขาดสถานศึกษาระดับฝึกอาชีพ ขาดแหล่งงานรองรับแรงงานว่างงานนอกฤดูกาล
- ไม่มีโรงงานหรือบริษัทใหญ่ๆ เพื่อจ้างคนในท้องถิ่น
 
3 โอกาส (O : Opportunity)
- มีองค์กรภาครัฐอยู่ใกล้พื้นที่ เช่น อำเภอปากพะยูน เกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ โรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ เป็นต้น
- มีเส้นทางคมนาคมสะดวก สามารถรองรับการขยายตัวของการลงทุนทางเศรษฐกิจ
- มีระบบบริการพื้นฐานจากหน่วยงานเอกชนและรัฐวิสาหกิจ ดังนี้ การไฟฟ้าสาขาปากพะยูน โทรศัพท์/อินเตอร์เน็ต TOT CAT AIS ไปรษณย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
- ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
- มีศูนย์ดำรงธรรมระดับอำเภอ ระดับท้องถิ่น
- ได้รับสนับสนุนจากทุกภาคส่วนราชการ
 
 
4 อุปสรรค (T : Threat)
- ไม่มีระบบชลประทาน
- การเมืองท้องถิ่นแก้ปัญหาได้ภายใต้ข้อจำกัด
- ราคาสินค้าทางการเกษตรไม่แน่นอนและไม่สามารถกำหนดราคาได้
- ความปลอดภัยในทรัพย์สิน
- ต้นทุนการผลิตสูง
- ภัยธรรมชาติ
- โรคระบาดในพืชและสัตว์
- ช่องทางการตลาดอยู่ในวงจำกัด
- อยู่ไกลจากจังหวัด ทำให้ใช้เวลานานในการติดต่อกับจังหวัด
- บริการทางภาครัฐหลายอย่างยังเข้าไม่ถึง เช่น การขออนุญาตใบขับขี่
ปัจจุบันเทศบาลตำบลเกาะนางคำ เป็นเทศบาลขนาดเล็ก มีงบประมาณจำกัดเมื่อเทียบกับภารกิจหน้าที่ต่างๆ ตามกฎหมายที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตามกฎหมายอื่น ตามภารกิจถ่ายโอนฯ ตามนโยบายท้องถิ่น นโยบายจังหวัดและนโยบายรัฐบาล